การรวมวงและก้าวแรกในวงการดนตรี [2541 - 2544][แก้]
แคลชรวมวงครั้งแรกในปี พ.ศ. 2541 ครั้นแต่สมาชิกทั้งห้าคนยังเป็นนักเรียนโรงเรียนราชวินิตบางแก้ว ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยใช้ชื่อวงของตนว่า ลูซิเฟอร์เพื่อเข้าประกวดการแข่งขันรายการดนตรีฮอตเวฟมิวสิกอวอร์ดส์ (Hot Wave Music Awards) ครั้งที่ 2 และ 3 ในครั้งที่ 3 วงลูซิเฟอร์ได้รับรางวัลรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง โดยใช้เพลง "อย่าทำอย่างนั้น" ของจิระศักดิ์ ปานพุ่มและเพลง"เมื่อรักฉันเกิด ของซิลลี่ฟูลส์" ต่อมาในปี พ.ศ. 2544 ลูซิเฟอร์จึงได้เซ็นสัญญากับค่ายดนตรี อัพ จี อันเป็นค่ายเพลงในเครือบริษัทจีเอ็มเอ็มแกรมมี และได้ออกจำหน่ายอัลบั้มชุดแรกในชื่อ วัน ในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2544 โดยออกเผยแพร่ซิงเกิลแรกในเพลง "กอด" ผลงานการประพันธ์ของปรีติ บารมีอนันต์ (แบงก์) นักร้องนำของวงและเรียบเรียงดนตรีโดยกลุ่มสมาชิกของวง นอกจากนี้ยังได้ประชาสัมพันธ์เพลง "เลิฟซีน" ซึ่งได้รับรางวัลสีสันครั้งที่ 14 สาขาเพลงร็อกยอดเยี่ยมในปี พ.ศ. 2546อีกด้วย
ประสบความสำเร็จ [2546][แก้]
ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 แคลชได้ออกอัลบั้มลำดับที่สองในชื่อ ซาวด์เชก ในอัลบั้มนี้พวกเขามีส่วนร่วมมากขึ้นตั้งแต่การประพันธ์จวบจนการบันทึกเสียง ซิงเกิลจากอัลบั้มนี้ได้แก่ "เธอจะอยู่กับฉันตลอดไป" "ขอเช็ดน้ำตา" และ "หนาว" ซึ่งเพลง "หนาว" เป็นผลงานการประพันธ์ของแบงก์เอง นอกจากนี้ยังมีเพลงพิเศษอย่าง "หยุดฝันก็ไปไม่ถึง" ซึ่งเป็นเพลงที่ประพันธ์ขึ้นเมื่อพล หนึ่งในสมาชิกของวงได้ขอแยกวงและได้กลับมาออกอัลบั้มนี้อีกครั้ง และเพลง "มือน้อย" เพลงของเรวัติ พุทธินันทน์ซึ่งได้นำมาเรียบเรียงใหม่ในอัลบั้มนี้
จากความสำเร็จในอัลบั้ม ชาวด์เชก ที่มีเพลงติดชาร์ตโดยทั่วไป พวกเขาจึงมีโอกาสเป็นพรีเซ็นเตอร์โฆษณาสินค้าน้ำมันเครื่อง และยังได้ขับร้องเพลง "หนึ่งมิตรชิดใกล้" เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่อง บิวตีฟูลบ็อกเซอร์ นอกจากนี้ในเดือนมิถุนายนปีเดียวกัน วงแคลชได้จัดทำอัลบั้มพิเศษขึ้นในชื่อ ซาวด์ครีม โดยเรียบเรียงดนตรีจากอัลบั้ม วัน และ ซาวด์เชก อาทิ "กอด" "รับได้ทุกอย่าง" "ขอเช็ดน้ำตา" และ "หนาว" ในรูปแบบใหม่ในแนวอะคูสติกส์ พร้อมเพลงใหม่อย่าง "เธอคือนางฟ้าในใจ" ซิงเกิลแรกเพื่อประชาสัมพันธ์อัลบั้มดังกล่าว
นอกจากผลงานอัลบั้มของวงเองและการโฆษณาแล้วนั้น ในปีเดียวกันนี้ แคลชและวงดนตรีร็อกในเครือค่ายเพลงสามค่ายอันประกอบด้วยมอร์มิวสิก จีนีเรเคิดส์ และอัปจีเรเคิดส์ ได้จัดทำโครงการพิเศษในชื่อว่า ลิตเติลร็อกโปรเจกต์ (Little Rock Project) โดยออกอัลบั้มร่วมกันประกอบด้วยอัลบั้ม ลิตเติลร็อกโปรเจกต์ ชุดที่ 1 และ ชุดที่ 2 ออกจำหน่ายในช่วงเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2546 โดยนำเพลงของวงไมโคร มาเรียบเรียงดนตรีใหม่และขับร้องใหม่ตามรูปแบบของแต่ละวง วงแคลชได้ร้องเพลงเปิดตัวโครงการด้วยเพลง "เอาไปเลย" ขับร้องคู่กับวงกะลา นอกจากนี้ยังมีเพลงอื่นๆที่แคลชได้ขับร้องอาทิ "ตอก ไว้ใจ แผลในใจ" และ "หยุดมันเอาไว้" และอีกเพลงหนึ่งซึ่งร้องร่วมกันทั้ง 7 วงคือเพลง "ลองบ้างไหม"
วงดนตรียอดนิยม [2547 - 2548][แก้]
เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2547 แคลชได้ออกสตูดิโออัลบั้มลำดับที่สามในชื่อ เบรนสตอร์ม ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีและมีการวิจารณ์ไปในทางที่ดี ดนตรีในอัลบั้มนี้ประกอบด้วยเพลงหลากหลายแนวทั้งร็อก ป๊อป และซอฟต์ร็อก โดยออกซิงเกิลเพลง "ใส่ร้ายป้ายสี" เป็นเพลงเปิดตัวของอัลบั้ม และเพลงเด่นอย่าง "เขาชื่ออะไร" ในปีเดียวกัน แบงก์ หนึ่งในสมาชิกของวงได้แสดงในภาพยนตร์เรื่อง พันธุ์เอ็กซ์เด็กสุดขั้ว ร่วมกับหนุ่ม สมาชิกจากวงกะลา จึงได้ขับร้องเพลง "เพลงรักพันธุ์ X" เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวร่วมกับวงกะลา นอกจากนี้แคลชยังได้เข้าร่วมโครงการจัดทำเพลงเพื่อเฉลิมฉลองการสถาปนาบริษัทจีเอ็มเอ็มแกรมมี่ครบ 20 ปีโดยร่วมเป็นส่วนหนึ่งในอัลบั้มชุด แพ็กต์โฟร์ร่วมกับวงร็อกในสังกัดเดียวกันอันได้แก่วงกะลา โปเตโต้และเอบีนอร์มอล ซึ่งนำเพลงยอดนิยมในอดีตจากวงดนตรีในสังัดบริษัทแกรมมี่ของวงโลโซ ซิลลี่ฟูลส์ และอัสนี-วสันต์ นำมาขับร้องและเรียบเรียงใหม่โดยร็อก 4 วง ซึ่งรวมถึงแคลชด้วย โดยแคลชได้นำเพลงของโจ-ก้อง วายน็อตเซเว่น และจิระศักดิ์ ปานพุ่ม มาเรียบเรียงใหม่
ในปีต่อมาเดือนมกราคม แคลชได้ร่วมคอนเสิร์ต แพ็กต์โฟร์ฟรีดอมโรแมนติกร็อก (Pack 4 Freedom Romantic Rock) ร่วมกับกลุ่มศิลปินในโครงการดังกล่าว และในเดือนตุลาคมปีเดียวกัน พวกเขากได้ออกสตูดิโออัลบั้มลำดับที่สี่ในชื่อ อีโมชัน ซิงเกิลจากอัลบั้มดังกล่าวได้แก่ "ละครรักแท้" "ซบที่อกฉัน" "เพลงผีเสื้อ" และ "ไฟรัก" ต่อมาในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2549 แคลชได้ออกอัลบั้มพิเศษในชื่อ สะมูสแคลช ซึ่งนำเพลงเด่นจากอัลบั้ม เบรนสตอร์ม และ อีโมชัน มาเรียบเรียงดนตรีใหม่ อาทิ เพลง "เขาชื่ออะไร" "ละครรักแท้" "เพลงผีเสื้อ" เป็นต้น โดยได้ออกเผยแพร่เพลงใหม่เพื่อประชาสัมพันธ์อัลบั้มคือ "นางฟ้าคนเดิม" ซึ่งเป็นเพลงประกอบละครเรื่อง สะดุดรัก ในเวลาต่อมา และในเดือนเดียวกัน พวกเขาได้จัดคอนเสิร์ตขึ้นโดยได้รับการสนับสนุนจากซี้ด เอฟเอ็มในชื่อ ซีดไลฟ์คอนเสิร์ตเฟิสต์แคลช (Seed Live Concert First Clash)[14]
ยักษ์ประสบอุบัติเหตุ [2549 - 2550][แก้]
ในวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2549 ยักษ์ มือกลองของวงประสบอุบัติเหตุรถมอเตอร์ไซค์พลิกคว่ำ ระหว่างไปเล่นคอนเสิร์ตที่จังหวัดสมุทรปราการ ส่งผลให้ยักษ์ได้รับบาดเจ็บสาหัส ต้องเข้ารับการรักษากายภาพบำบัดเป็นเวลาหลายเดือน จนกระทั่งในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน วงแคลชก็ได้ออกอัลบั้มลำดับที่ห้าในชื่อ แครชชิง โดยชุดนี้มีเพลงที่ได้รับความนิยมเช่นเพลง "ค้างคา" "มือที่ไร้ไออุ่น" "รอ" "ขอเจ็บแทน" "วังวน" และ "ยิ้มเข้าไว้" โดยมีผู้อื่นมาช่วยเล่นในตำแหน่งกลองแทนยักษ์ที่กำลังฟื้นฟูร่างกาย
ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2550 แคลชได้จัดคอนเสิร์ตใหญ่เป็นครั้งที่ 2 ในชื่อว่า แคลชอาร์มีร็อกคอนเสิร์ต (Clash Army Rock Concert)[17] คอนเสิร์ตนี้มีแขกรับเชิญพิเศษมากมายอาทิโอซา แวง นางเอกมิวสิกวิดีโอในเพลงอัลบั้ม แครชชิง 3 เพลงและชนัทธา สายศิลา (แน็ป) นักร้องนำวงเรโทรสเปกต์ร่วมแสดงละครด้วยกัน เบนจามิน จุง ทัฟเนล (เบน) จากวงซิลลี่ ฟูลส์ และ ชินวุฒิ อินทรคูสิน (ชิน) มาร่วมร้องเพลงอีกด้วย นอกจากนี้ วงแคลชยังได้มีเพลงใหม่ 2 เพลงที่แต่งขึ้นเพื่อคอนเสิร์ตครั้งนี้โดยเฉพาะคือเพลง "ซากคน" และ "สักวันฉันจะไปหาเธอ" ซึ่งต่อมาทั้งสองเพลงได้นำมาขับร้องใหม่และรวบรวมไว้ในอัลบั้ม แฟน
ในเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน แคลชได้ประชาสัมพันธ์อัลบั้ม แฟน โดยมีกิจกรรมพิเศษที่ให้โอกาสแฟนเพลงมาร่วมแสดงมิวสิกวิดีโอเพลง "เกินคำว่ารัก" เพลงใหม่จากอัลบั้มนี้ อัลบั้มออกจำหน่ายในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2550 โดยเพลงส่วนใหญ่เป็นการนำเพลงเด่นตั้งแต่อัลบั้มแรกมาเรียบเรียงใหม่ในท่วงทำนองแบบออเคสตร้า และยังรวบรวมเพลงใหม่อีก 2 เพลงที่ประพันธ์ไว้ในการแสดงคอนเสิร์ตแคลชอาร์มีร็อกคอนเสิร์ต อีกด้วย
การสร้างอัลบั้มที่ออสเตรเลีย [2551 - 2552][แก้]
ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 แคลชได้สร้างอัลบั้มชุดใหม่ ณ ประเทศออสเตรเลีย เนื่องจากพวกเขารู้จักและสนิทสนมกับ แดเนียล เลฟเฟลอร์ โปรดิวเซอร์ที่เคยทำงานร่วมกัน และพวกเขากล่าวว่าต้องการเสียงดนตรีที่แปลกใหม่ และที่นั่นมีค่าใช้จ่ายน้อย แต่มีคุณภาพดี แต่ก็ประสบปัญหากันในเรื่องเกี่ยวกับเสียงดนตรี เนื่องจากความเห็นที่แตกต่างกัน แต่ในที่สุดก็ได้ผลงานอัลบั้มนี้ออกมา และได้ประกาศชื่ออัลบั้มชุดนี้ว่า ร็อกออฟเอจเจส มีการถ่ายทำคลิปวิดีโอเบื้องหลังการทำงานอัลบั้มนี้เผยแพร่ในเว็บไซต์จีเม็มเบอรื.คอม และได้ปล่อยผลงานเพลงแรกในอัลบั้มนี้ ทางคลื่นฮอตเวฟ เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ในเพลง "รักเองช้ำเอง" การสร้างอัลบั้มในต่างประเทศทำให้ดนตรีในอัลบั้มนี้มีความเป็นสากลมากขึ้น ในวันที่29 กรกฎาคม วันออกจำหน่ายอัลบั้มดังกล่าวได้มีการจัดคอนเสิร์ตเปิดตัวอัลบั้มนี้ ณ อาคารแกรมมี่เพลส ชั้น 21 แคลชได้กล่าวถึงเรื่องราวขำขันปนจริงจังกับการใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย และกล่าวถึงมิวสิกวิดีโอเพลงในอัลบั้มนี้ที่จะออกเผยแพร่ 4 เพลงออกมาเป็นรูปแบบของซีรีส์แบบเดียวกับอัลบั้มก่อนหน้านี้ ซึ่งได้แก่เพลง "รักเองช้ำเอง" "ถอนตัว" "ปฏิเสธรัก" และ "ความทรงจำครั้งสุดท้าย " ในปีถัดมาวันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2552 ได้มีคอนเสิร์ต แคลชอาร์มีร็อกคอนเสิร์ต: ชีวิต มิตรภาพ ความรัก โดยประพันธ์เพลงเพิ่มเติมเพื่อการแสดงเฉพาะในคอนเสิร์ตดังกล่าวได้แก่ "ชีวิต มิตรภาพ ความรัก" และ "ปฏิเสธไม่ได้ว่ารักเธอ" ร่วมร้องกับแคล แคลอรีน นอกจากนี้ยังได้มีแขกรับเชิญพิเศษ อาทิ ซีล ศุภรุจ เตชะตานนท์ (รุจ เดอะสตาร์) และชินวุฒิ อินทรคูสิน (ชิน) มาร่วมร้องในคอนเสิร์ตนี้ด้วย
การแยกวงและคอนเสิร์ตสุดท้าย [2553 - 2554][แก้]
ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2553 แคลชได้ออกอัลบั้มชุดที่เจ็ดในชื่อ ไนน์มิสยูทู เพลงเด่นจากอัลบั้มนี้ได้แก่เพลง "ลางสังหรณ์" ซึ่งออกเผยแพร่มิวสิกวิดีโอวันที่ 17 พฤษภาคมในปีเดียวกัน และ "เพลงสุดท้าย" ซึ่งเปิดโอกาสให้แฟนเพลงเข้าร่วมขับร้องกว่า 70 คนเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2553 และแสดงประกอบมิวสิกวิดีโอเพลงดังกล่าว ในวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 โดยถ่ายทำ ณ ลานเทนนิสของคอนโดร้างแห่งหนึ่ง ระหว่างการถ่ายทำมิวสิกวิดีโอดังกล่าว แบงก์ นักร้องนำของวงได้กล่าวกับแฟนเพลงที่ร่วมถ่ายทำมิวสิกวิดีโอว่า
![]() |
| ![]() |
— BANKK CA$H |
ภายหลังการถ่ายทำมิวสิกวิดีโอเสร็จสิ้นแล้วนั้น แคลชได้แถลงข่าวยุบวงในเย็นวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ณ อาคารจีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ พวกเขากล่าวว่าพวกเขาปรึกษาเรื่องการแยกวงมานานกว่า 3 ปีแล้วและกล่าวขอโทษแฟนๆ[24] สาเหตุการประกาศแยกวง พวกเขากล่าวว่าเป็นเพราะแต่ละคนมีมุมมองและทิศทางการทำดนตรีที่แตกต่างกัน พร้อมบอกว่าจะแยกย้ายกันไปทำงานเพลงตามแนวทางของตัวเอง[25]โดยจะมีคอนเสิร์ตอำลาแฟนคลับในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2554 พร้อมกันนั้นแบงก์ได้กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า
![]() |
| ![]() |
— BANKK CA$H |
พร้อมกันนั้นก็ได้ปฏิเสธข่าวลือการทะเลาะภายในวงว่า
![]() |
| ![]() |
— BANKK CA$H |
ภาพลักษณ์[แก้]
แคลชเป็นศิลปินอีกกลุ่มหนึ่งที่มีหลากหลายแนวเพลง เริ่มแรกนั้นดนตรีของแคลชจะเป็นแนวร็อกแบบญี่ปุ่นหรือเจ-ร็อก ต่อมามีการปรับเปลี่ยนแนวดนตรีโดยมีท่วงทำนองหนักหน่วงยิ่งขึ้นเป็นแนวออลเทอร์นาทิฟร็อก ฮาร์ดร็อก และ นูเมทัล ซึ่งพบได้ในบทเพลง "รักจริงรักปลอม" "ใส่ร้ายป้ายสี" "สวรรค์ไม่มีตา" หรือ "อีโมชัน" เป็นต้น นอกกจากดนตรีแนวร็อกแล้ว แคลชยังมีเพลงแนวอะคูสติกส์ซึ่งมีทั้งการเรียบเรียงทำนองในแบบอะคูสติกส์อย่างเพลง "ละครรักแท้" "ขอเจ็บแทน" "เธอคือนางฟ้าในใจ" "นางฟ้าคนเดิม" หรือการเรียบเรียงทำนองใหม่จากเพลงแนวร็อก เช่น "ขอเช็ดน้ำตา" "หนาว" "รับได้ทุกอย่าง" "ซบที่อกฉัน" เป็นต้น นอกจากนี้บางเพลงยังมีการสอดแทรกท่อนแร็ป เช่น เพลง "ผมไม่ได้บ้า" "โรคประจำตัว" "มันนี่เอนต์ฟลาย" เป็นต้น หรือแนวอาร์แอนด์บี ในเพลง "เชื่อในฉัน" "ปฏิเสธรัก" และอีกเพลงที่เห็นได้ชัดคือเพลง "ละครรักแท้" โดยต้นฉบับเป็นเพลงแนวอะคูสติกส์ซึ่งถูกนำมาเรียบเรียงใหม่เป็นแนวอาร์แอนด์บี ในอัลบั้ม แฟน มีการสอดแทรกดนตรีแนวออเคสตร้าเข้าผสมผสานอีกด้วย เช่นในเพลง "เกินคำว่ารัก" หรือการนำเพลงเก่ามาเรียบเรียงใหม่เป็นแนวออเคสตร้า อาทิ "เธอคือนางฟ้าในใจ" "หนาว" "ไฟรัก" เป็นต้น ในอัลบั้มชุด ร็อกออฟเอจเจส แคลชได้เดินทางไปสร้างอัลบั้ม ณ ประเทศออสเตรเลีย ซึ่งมีแดเนียล เลฟเฟลอร์ โปรดิวเซอร์ชาวออสเตรเลียช่วยควบคุมดูแลเพลงให้ทำให้มีความเข้มข้นและเป็นสากลมากขึ้น
ในส่วนเนื้อหาเพลงของแคลช มีทั้งเนื้อหาที่เกี่ยวกับความรักเหมือนบทเพลงทั่วไปและเนื้อหาที่สะท้อนสังคม เพลงช้าเป็นเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรัก อกหัก และปลอบใจ หรือความสมหวัง คิดถึง และให้กำลังใจ ในเพลงเร็วส่วนใหญ่จะเป็นแนวสะท้อนสังคมหรือเสียดสีสังคม ซึ่งพบได้ในอัลบั้ม เบรนสตอร์ม โดยแบงก์กล่าวให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับอัลบั้มชุดดังกล่าวว่า "ก็อยากให้ผู้ฟังเปิดใจยอมรับสิ่งที่เรานำเสนอออกไป ดนตรีดุดัน เนื้อหาเข้มข้น สะท้อนสังคมในยุคปัจจุบัน แต่ก็ไม่ได้ว่า ไม่ได้โจมตีใคร และเรามั่นใจว่าเพลงช้าในอัลบั้มชุดนี้เพราะมาก ๆ ครับ" ส่วนเพลงเร็วที่มีความหมายเกี่ยวกับความรักนั้นจะพบได้ในอัลบั้มเก่า เช่นเพลง "ไฟรัก" "รักจริงรักปลอม" เป็นต้น
นอกจากนี้แบงก์นักร้องนำยังได้รับเกียรติให้เป็น "ลูกยอดกตัญญูต่อผู้เป็นแม่" เนื่องจากเมื่อทราบว่าแม่ป่วยเป็นโรค MDS หรือความผิดปกติของโครโมโซมในกระดูกสันหลังแล้ว ก็ดั้นด้นทำงานหางานมารักษาแม่ให้หายขาด จนได้รับการประกาศยกย่องจาก สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ให้เป็น "ลูกที่มีความกตัญญูกตเวทีอย่างสูงต่อแม่" ประจำปี 2549 โดยจะเข้ารับพระราชทานรางวัลจากพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ในงานวันแม่แห่งชาติ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2549 ณ สวนอัมพรโดยแบงก์กล่าวถึงรางวัลนี้ว่า “ดีใจมากครับที่ได้รับรางวัลนี้เพราะเป็นรางวัลที่มีค่าสูงสุดในชีวิตผม จึงจะขอมอบเป็นของขวัญให้กับคุณแม่ในวันแม่ปีนี้ไปเลย คิดว่าคุณแม่คงจะภูมิใจเพราะผมเป็นคนที่ทำอะไรแล้วไม่ค่อยมีใครเห็นนอกจาก คุณแม่" แม้ว่าตอนนี้แม่ของแบงก์จะเสียชีวิตไปแล้ว แต่เขาก็ยังคงทำงานเพลงต่อไปเพื่อแฟนคลับอันเป็นที่รักของเขา
กิจกรรมและงานอื่นๆ[แก้]
ผลงานร่วมกับศิลปินอื่น[แก้]
นอกจากแบงก์นักร้องนำของแคลชจะมีเสียงที่เป็นเอกลักษณ์แล้ว ยังมีความสามารถในการประพันธ์เพลงอีกด้วย โดยมีเพลงของแคลชจำนวนไม่น้อยที่เขาเป็นคนแต่ง ด้วยเหตุนี้เขาจึงได้มีโอกาสในการแต่งเพลงให้ศิลปินอื่น ๆ ด้วย อาทิ กอล์ฟ-ไมค์ในเพลงแนวร็อกผสมฮิปฮอปอย่างเพลง "ไม่ตามใคร" และเพลง "เต้นกันไหม" ซึ่งเป็นเพลงแนวป๊อปผสมฮิปฮอป นอกจากนี้ยังประพันธ์เพลงให้กับศิรินทิพย์ หาญประดิษฐ์ (โรส) ซึ่งแบงก์ได้ประพันธ์เพลงส่งท้ายปี พ.ศ. 2550 ในเพลง "ปีใหม่ใหม่" โดยการโปรดิวซ์ของเพิ่มศักดิ์ พิสิษฐ์สังฆการโปรดิวเซอร์ของแคลชมาเรียงเรียงดนตรี ให้โรสเป็นคนร้องซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างดี แคลชยังมีส่วนร่วมในการทำดนตรีให้กับเพลงส่วนใหญ่ของพิมพ์รดาภา ไรท์ (ตีน่า) ในอัลบั้ม มามาคิสส์ อีกด้วย นอกจากนี้แคลชยังได้ประพันธ์เพลง "อ้อมกอดจากดวงดาว" สนองโครงการ “คลายหนาวให้น้อง” ซึ่งแคลชได้ธงไชย แมคอินไตย์ มาร่วมร้องในเพลงนี้ด้วย
วงแคลชมีคอนเสิร์ตใหญ่เป็นของตัวเองมาแล้วถึง 3 ครั้ง นอกจากนี้แล้ว แบงก์ยังเคยมีส่วนร่วมในคอนเสิร์ตใหญ่ของศิลปินอื่นด้วย ไม่ว่าจะเป็น โอเพนฮาร์ตคอนเสิร์ต (Open Heart Concert) ของมาช่า วัฒนพานิช โดยแบงก์ได้ร่วมร้องในเพลง "ขอเช็ดน้ำตา" และ "เจ้าช่อมาลี" และแสดงเดี่ยวในเพลง "ค้างคา"[30] และยังได้รับเชิญในคอนเสิร์ต ไทยทาเนียมอันเซ็นเซอร์ดคอนเสิร์ต (Thaitanium Uncensored Concert) ของไทยเทเนี่ยม กลุ่มศิลปินแร็ปซึ่งแบงก์ได้แต่งกายเป็นเด็กฮิปฮอปร่วมแสดงในคอนเสิร์ตดังกล่าว[31] และแสดงเดี่ยวในเพลง "ละครรักแท้" ในฉบับแบบอาร์แอนด์บี เป็นต้น
งานโฆษณาและนิตยสาร[แก้]
ด้วยความนิยมของวงแคลชในหมู่วัยรุ่น จึงได้รับเป็นพรีเซ็นเตอร์ให้แบรนด์ยามาฮ่า กับจักรยานยนต์ยามาฮ่า รุ่น Mio ซึ่งทางยามาฮ่าออกมาพูดว่า ลูกค้าจดจำรุ่นจักรยานยนต์ได้โดยผ่านพรีเซ็นเตอร์ "ลูกค้าหลายคนมาซื้อจักรยานยนต์มักจะพูดว่า อยากได้รุ่นแบงก์วงแคลช" และยังได้ร่วมแคมเปญของไนกี้ กับโครงการ "เซียนหรือเกรียน" ที่ให้วัยรุ่นส่งคลิปวิดีโอบันทึกการเตะบอลตามที่ต่าง ๆ มาทางไนกี้ โดยแคลชร้องเพลง “ขอเจอสักที” ประกอบแคมเปญนี้ ซึ่งเรียบเรียงขึ้นจากประสบการณ์ที่ได้คุยกับน้องๆ ซึ่งรักการเล่นฟุตบอล และน้องๆ พวกนี้ได้มีส่วนร่วมในการแต่งเพลงกับวงแคลชด้วย
ภาพยนตร์โฆษณาไทยตัวอื่น เช่น กาแฟกระป๋องเบอร์ดี้ พิเชียร คูสมิทธิ์ กล่าวว่า "เพื่อตอกย้ำความสำเร็จของเบอร์ดี้ โดยนำเหตุการณ์จริงมานำเสนอผ่านพรีเซนเตอร์ คือ แบงก์ วงแคลช ซึ่งถือเป็นตัวแทนคนรุ่นใหม่ ที่มีความพยายามจนประสบความสำเร็จ" รวมถึงภาพยนตร์โฆษณาน้ำมันเครื่อง ปตท. ชุด พีทีที 4 ที ชาเลนเจอร์ ที่ได้ ฝน ชญาฎา ยุทธมานพ มาเป็นนางเอก โฆษณา
ธุรกิจและหนังสือ[แก้]
นอกจากผลงานเพลงแล้ววงแคลชยังร่วมมือกันเปิดร้านอาหารที่มีชื่อว่า แคลงก์ (Clank) ที่บริเวณถนนศรีนครินทร์ หลังห้างซีคอนสแควร์ ซึ่งเป็นหุ้นส่วนร่วมกับขันเงิน และเดย์ ศิลปินจากวงไทยเทเนี่ยม เป็นร้านอาหารกึ่งผับ และได้แถลงข่าวเปิดตัวผลงานพ็อคเก็ตบุ๊คเล่มแรกของแคลชชื่อ ดาร์คโน้ตสตูดิโอ (Dark Note Studio) ที่จะกล่าวถึงแง่มุมต่าง ๆ ของสมาชิกแต่ละคน
ผลงาน[แก้]
ผลงานเพลง[แก้]
ดูบทความหลักที่: รายชื่อผลงานอัลบั้มเพลงของแคลช
สตูดิโออัลบั้ม[แก้]
| อัลบั้มรวมเพลงและอัลบั้มพิเศษ[แก้]
|
คอนเสิร์ต[แก้]
ลำดับ | ชื่อคอนเสิร์ต | วันแสดง | รูปแบบ/ชื่อสื่อบันทึกการแสดง |
---|---|---|---|
1. | ลิตเติลร็อกโปรเจกต์ร็อกไซส์เอสคอนเสิร์ตอินฟรีดอมฟันเดย์ (Little Rock Project Rock Size S Concert In Freedom Funday) | 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 | วีซีดี: ร็อกไซส์เอสคอนเสิร์ต |
2. | แพ็กโฟร์ฟรีดอมโรแมนติกร็อกคอนเสิร์ต (Pack 4 Freedom Romantic Rock Concert) | 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2547 | วีซีดี: แพ็กโฟร์ฟรีดอมโรแมนติกร็อกคอนเสิร์ต |
3. | ซีดไลฟ์คอนเสิร์ตเฟิสต์แคลช (Seed Live Concert First Clash) | 11 มีนาคม พ.ศ. 2549 | วีซีดี: ซีดไลฟ์คอนเสิร์ตเฟิสต์แคลช |
4. | แคลชอาร์มีร็อกคอนเสิร์ต (Clash Army Rock Concert) | 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 | วีซีดี, ดีวีดี: แคลชอาร์มีร็อกคอนเสิร์ต |
5. | แมลงร็อกเดย์คอนเสิร์ตครั้งที่ 4 ร็อกมอนสเตอร์ (Malang Rock Day Concert #4: Rock Monster) | 28 กันยายน พ.ศ. 2551 | |
6. | แคลชอาร์มีร็อกคอนเสิร์ตครั้งที่ 2 สงครามรัก บนดนตรีร็อก | 4 เมษายน พ.ศ. 2552 | |
7. | แคลช รีเบิร์ธ เดอะไฟนอล คอนเสิร์ต | 30 เมษายน พ.ศ. 2554 |
ซิงเกิลพิเศษ[แก้]
|
|
อื่น ๆ[แก้]
- ภาพยนตร์เรื่อง พันธุ์เอ็กซ์เด็กสุดขั้ว (พ.ศ. 2547) (แบงค์)
- พ็อคเก็ตบุ๊ค A Clash Rockumentory: DarkNote Studio (พ.ศ. 2551)
- ภาพยนตร์เรื่อง ท้าชน (พ.ศ. 2552) (แบงค์)
รางวัลที่เคยได้รับ[แก้]
- รางวัลชนะเลิศถ้วยพระราชทาน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในการประกวดโยธวาทิต ชิงแชมป์ประเทศไทย (พล แฮ็ค สุ่ม ยักษ์)
- รองชนะเลิศอันดับ 1 Hot Wave Music Awards # 3 ปี 2541
- นักร้องนำยอดเยี่ยม (แบงค์)
- สีสัน อะวอร์ดส์ ครั้งที่ 14 ประจำปี 2544 สาขาเพลงร็อกยอดเยี่ยม ได้แก่เพลง Love Scene
- สีสัน อะวอร์ดส์ ครั้งที่ 17 ประจำปี 2547 สาขาเพลงร็อกยอดเยี่ยม ได้แก่เพลง เมืองคนเหล็ก 2004
- สีสัน อะวอร์ดส์ ครั้งที่ 18 ประจำปี 2548 สาขาเพลงร็อกยอดเยี่ยม ได้แก่เพลง Emotion
- ปี พ.ศ. 2547 ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการในฐานะแกนนำในการรณรงค์เพื่อป้องกันและแก้ปัญหาโรคเอดส์ โดยได้รับมอบเข็มกลัดและตราสัญลักษณ์การประชุมรูปช้างเผือก 3 เชือก (แบงก์)
- รางวัลจากแชนแนล วี ไทยแลนด์ มิวสิกวิดีโอ อวอร์ดส #4 สาขาศิลปินไทยกลุ่มยอดนิยม ซึ่งตัดสินโดยคะแนนโหวตจากประชาชนทั่วไป
- Seed Awards ประจำปี 2005 สาขา อัลบั้มร็อกยอดเยี่ยมสุดซี้ดประจำปี ได้แก่อัลบั้ม Emotion และสาขารางวัลมิวสิกวิดีโอยอดเยี่ยมสุดซี้ดประจำปี ได้แก่มิวสิกวิดีโอเพลงไฟรัก กำกับโดย ณัฐพล มุขขันธ์ และชาติชาย วรเพียรกุล[43][44]
- Seed Awards ประจำปี 2006 สาขา อัลบั้มร็อกยอดเยี่ยมสุดซี้ดประจำปี ได้แก่อัลบั้ม Crashing
- การประกาศยกย่องให้เป็นลูกที่มีความกตัญญูกตเวทีอย่างสูงต่อแม่ประจำปี 2549 จาก สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ในงาน “วันแม่แห่งชาติ” พ.ศ. 2549 ณ สวนอัมพร (แบงค์)
- รางวัลหนึ่งในเพลงฮิตที่สุดแห่งปีจากงาน Virgin Hitz Awards 2007 ได้แก่เพลง ขอเจ็บแทน ยิ้มเข้าไว้ และ มือที่ไร้ไออุ่น
- สีสัน อะวอร์ดส์ ครั้งที่ 21 ประจำปี 2551 สาขาเพลงร็อกยอดเยี่ยม ได้แก่เพลง ชีวิตไม่มีหัวใจ
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.01.1 1.2 1.3 1.4 1.5 http://guitar.kaidown.com/Artist-History/Clash.aspx
- ↑ 2.02.1 ร้าน " Clank " ถนนศรีนครินทร์ ( หลังซีคอนสแควร์ )
- ↑ ปิดตำนานร็อค! แคลช ประกาศแยกวง
- ↑ “แคลช” เตรียมรวมวง
- ↑ ข่าวแบงค์ แง้ม วงแคลช อาจกลับมารวมตัวอีกครั้ง
- ↑ เพลงก่อนดัง วง Clash ตอนประกวด HotWave
- ↑ สยามโซน อัลบั้ม One เรียกข้อมูลวันที่ 14 มกราคม 2544
- ↑ 8.08.1 กูเกิลกูรู ประวัติแคลช (Clash) เรียกข้อมูลวันที่ 14 มกราคม 2554
- ↑ 9.09.1 สยามโซน อัลบั้ม Soundshake เรียกข้อมูลวันที่ 15 มกราคม 2554
- ↑ วีซีดี/ดีวีดี บันทึกการแสดงคอนเสิร์ต Seed Live Concert First Clash
- ↑ virginradiothailand.com Clash:Music Virgin]
- ↑ exteen.com ประวัติความเป็นมาวงแคลช เรียกข้อมูลวันที่ 15 มกราคม 2554
- ↑ tongchaivillage.blogspot.com เพลง : นางฟ้าคนเดิม - Clash (ละคร สะดุดรัก) เรียกข้อมูลวันที่ 16 มกราคม 2554
- ↑ SEED LIVE CONCERT : FIRST CLASH
- ↑ ยักษ์วงแคลชซิ่งบิ๊กไบค์คว่ำ
- ↑ "ยักษ์" วงแคลช ซิ่งมอเตอร์ไซค์แหกโค้ง
- ↑ Clash Army Rock Concert แคลชอาร์มี่ร็อกคอนเสิร์ต
- ↑ 5 หนุ่ม แคลช ตอกย้ำร็อกไม่มีวันตายด้วย Rock Of Ages
- ↑ http://hotwave.fm/master/showpow_08.html
- ↑ เปิดตัว "Rock of Ages" สุดเซอร์ไพรส์ "แคลช" ขนมิวสิกฯกระแทกใจคอร็อกแบบไม่อั้น
- ↑ inside.gmember.com Clash ดีเดย์!! เตรียมปล่อย 'ลางสังหรณ์' เอ็มวีตัวใหม่ 17 พ.ค. นี้ เรียกข้อมูลวันที่ 16 มกราคม 2554
- ↑ thaimusicstory.com แคลช (Clash) เรียกข้อมูลวันที่ 16 มกราคม 2554
- ↑ clipmass.com ปิด ตำนาน Clash ยุบวงแล้ว !!! และMVสุดท้ายตัวเต็ม เรียกข้อมูลวันที่ 16 มกราคม 2554
- ↑ 24.024.1 inside.gmember.com 'Clash' แถลง 'จบ' ด้วยดี ยัน ไม่ได้ทะเลาะ!! เรียกข้อมูลวันที่ 16 มกราคม 2554
- ↑ แฟนช็อค “แคลช” ประกาศแยกวง ปิดตำนานร็อก
- ↑ 26.026.1 fws.cc ประวัติความเป็นมาวงแคลช เรียกข้อมูลวันที่ 16 มกราคม 2554
- ↑ 27.027.1 ‘แบงค์’ ชีวิตผกผัน ‘รวยแล้วตกต่ำ’ ‘คุณแม่’ ฝันเป็นจริง ‘ลูกยอดกตัญญู’
- ↑ 10 เพลงในอัลบั้ม MAMAKISS ในชีวิตของสาว TINA
- ↑ 'CLASH' Feat.'เบิร์ด' Feat. 'อ้อมกอดจากดวงดาว' สื่อแทนความห่วงใยถึงแฟนเพลง
- ↑ “มาช่า” เต็มที่ “Open Heart Concert”
- ↑ ไทยเทเนี่ยมระเบิดความมันส์ ถล่ม บีอีซีเทโร ฮอล์
- ↑ วัฒนะชัย ยะนินทร ,บิดสองล้อ เจาะเทรนดี้สร้างแบรนด์Positioning Magazine กรกฎาคม 2550
- ↑ เซียนหรือเกรียน ? แคมเปญล้อม “คลิป” Positioning Magazine ตุลาคม 2550
- ↑ ไนกี้ ท้าโจ๋ดวลแข้งวง แคลช พิสูจน์ เซียนหรือเกรียน
- ↑ เบอร์ดี้ ตอกย้ำความเป็นผู้นำ ทุ่มงบ 500 ล้านบาทจัดกิจกรรมด้านการตลาดพร้อมมีแผนเปิดตัวสินค้าใหม่ทั้ง 3 กลุ่มผลิตภัณฑ์
- ↑ CLANKBAR STORY
- ↑ 5 หนุ่มวง "แคลช" เมาท์กระจาย แบบหมดเปลือก แถมเผยความลับในพ็อกเก็ตบุ๊กส่วนตัว "Dark Room Studio"
- ↑ BOX SET แคลช CD 12 YEARS CLASH ALWAYS
- ↑ ผลการตัดสินรางวัล สีสัน อะวอร์ดส์ ครั้งที่ 14 ประจำปี 2544
- ↑ ผลการตัดสินรางวัล สีสัน อะวอร์ดส์ ครั้งที่ 17 ประจำปี 2547
- ↑ ผลการตัดสินรางวัล สีสัน อะวอร์ดส์ ครั้งที่ 18 ประจำปี 2548
- ↑ ผลรางวัล แชนแนล วี ไทยแลนด์ มิวสิกวิดีโอ อวอร์ดส #4
- ↑ ประกาศผลรางวัลสุดซี้ด Seed Awards ประจำปี 2005
- ↑ บอดี้สแลม, แคลช, โปเตโต้ คว้ารางวัล Seed Awards
- ↑ เต็มอิ่มกับทัพศิลปินในงาน เวอร์จิ้น ฮิตซ์ อวอร์ดส์ 2007
- ↑ ผลการตัดสินรางวัล สีสัน อะวอร์ดส์ ครั้งที่ 21 ประจำปี 2551
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น